การออกแบบเครื่องประดับ และเกร็ดประวัติศาสตร์น่ารู้
การออกแบบเครื่องประดับ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องประดับสักชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และอื่นๆ ซึ่งในหัวข้อนี้ จะขอนำเสนอเรื่องราวที่น่ารู้และน่าสนใจ เกี่ยวกับงานออกแบบเครื่องประดับ ดังต่อไปนี้
เมื่อมองไปถึงรูปแบบของเครื่องประดับแต่ละชิ้นจาก การออกแบบเครื่องประดับ หลังจากที่เริ่มต้นออกแบบไปจนถึงขั้นตอนการผลิตจนเสร็จลุล่วงไป ก็สามารถนำมาแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆตามรูปทรง ได้แก่
-รูปทรงเรขาคณิต (Geometric form)
-รูปทรงอิสระ (Free form)
-รูปทรงธรรมชาติ (Natural form)
-รูปแบบที่ได้จากการทำเครื่องประดับในอดีต (Cultural and ethnical style)
-รูปทรงแห่งการผสมผสาน (Miscellaneous)
เทคนิคในการออกแบบเครื่องประดับ จากสมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เช่น
ในยุคเรเนซองส์ (Renaissance) เป็นยุคแห่งศิลปะที่เครื่องประดับมีการออกแบบด้วยเทคนิคทางศิลปะแบบขั้นสุด เน้นการลงยาและประดับอัญมณีลงบนตัวเรือนอย่างมีสีสัน ทั้งเพชรและพลอยทุกชนิด ทุกสี ที่ถูกนำมาใช้อย่างทรงคุณค่าและสวยงามเป็นเอกลักษณ์
ยุคร็อคโคโค (Rococo) เป็นยุคที่ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความนิยมในอัญมณีพอสมควร และช่างทำเครื่องประดับรวมทั้งช่วงออกแบบก็เริ่มมีการใช้เทคนิคการเจียรนัยเพชร พลอย ทำให้มีเครื่องประดับรูปแบบใหม่ๆ ที่สวยงาม ถือเป็นยุครุ่งเรื่องอีกยุคหนึ่งของงานศิลปะในเครื่องประดับ
กระทั่งมาถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นยุคที่ข้าวยากหมากแพง ต้องประหยัด ทำให้เกิดศิลปะเครื่องประดับแนวใหม่ที่เรียกว่า Art Deco ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความนิยมการออกแบบเครื่องประดับเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบร่วมสมัย เน้นความเรียบหรูดูดี และก็กลายเป็นรูปแบบของเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ถ้ามองในแง่ของประวัติศาสตร์แล้ว การออกแบบเครื่องประดับ เรียกว่าเป็นศิลปะและอารยธรรมของโลก ที่มีวิวัฒนาการอย่างน่าสนใจในทุกยุคสมัย และประวัติศาสตร์เหล่านี้ก็สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความนิยมในเครื่องประดับที่มีความน่าสนใจจากทั่วโลก
เช่น เครื่องประดับสมัยทวารวดีของไทย ที่มีการออกแบบจากความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังอย่างลูกปัดโบราณ เครื่องประดับของฟาโรห์ในยุคอียิปต์โบราณที่เน้นการออกแบบเครื่องประดับศีรษะอย่างอลังการ เครื่องประดับแห่งธิเบตที่ออกแบบขึ้นภายใต้ความเชื่อทางศาสนาพุทธ นิกายหินยาน เหล่านี้เป็นต้น