ชุดไทย ประจำภาคเหนือกับเรื่องราวที่น่าสนใจ

ชุดไทย ของประเทศไทยเราถือเป็นความน่าภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง และนอกจากชุดไทยทั่วไปที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีแล้ว ก็ยังมีชุดไทยประจำท้องถิ่นแต่ละภาคซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไปและไม่ซ้ำกันเลยทีเดียว ในหัวข้อนี้เราจะพาไปรู้จักกับชุดไทยประจำภาคเหนือ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ชุดไทยหรือชุดพื้นเมืองทางเหนือมีความหลากหลายในตัวเองมากตั้งแต่สมัยล้านนาก็ว่าได้ ยิ่งเมื่อถึงยุคที่มีชนกลุ่มน้อยอพยพเข้ามา วัฒนธรรมการแต่งกายต่างๆ ก็มีเพิ่มเข้ามาและถ้ามองในภาพรวมของชุดไทยประจำภาคเหนือ ก็จะมีลักษณะดังนี้คือ

ผู้หญิงชาวเหนือ มักจะนุ่งผ้าซิ่นทอลวดลายประณีตมีเอกลักษณ์แบบทางเหนือโดยเฉพาะตีนซิ่นที่มีการออกแบบอย่าสวยงาม สำหรับเสื้อ ส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อคอกลม ลวดลายสวยงาม สีสันสดใส บางโอกาสอาจห่มสไบทับ และถ้าผู้หญิงผมยาวก็จะเกล้าผมพร้อมทั้งมีเครื่องประดับผมด้วย

ชุดไทย

ผู้ชายชาวเหนือ มักจะสวมกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า  เตี่ยว เป็นกางเกงที่ทอจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ในส่วนของเสื้อ ก็จะเป็นเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น ผ่าอก ติดกระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม นอกจากนี้ สำหรับโอกาสที่เป็นทางการอาจมีเสื้อคอจีนแขนยาว และมีผ้าคาดเอวกับผ้าพาดบ่า รวมทั้งผ้าโพกศีรษะด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าชุดไทย ทางภาคเหนือนั้น นิยมเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าทอ โดยเฉพาะผ้าฝ้าย แต่ก็ยังมีผ้าทอชนิดอื่นด้วย เช่น ผ้าป่าน หรือ ผ้าไหม ซึ่งในการตัดเย็บก็จะมีขั้นตอนและการออกแบบลวดลายที่แตกต่างกันไป โดยมีลายผ้าทอชื่อที่มีชื่อเสียงของจังหวัดต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น ผ้าซิ่นตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ ของจังหวัดเชียงใหม่, ผ้าไหมลายน้ำไหล ของจังหวัดน่าน เป็นต้น

นอกจากนี้ ชุดไทยทางภาคเหนือยังมีเอกลักษณ์อยู่ที่เครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณ เช่น ปิ่นปักผม ที่มีชื่อเรียกตามรูปลักษณ์และการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ปิ่นปักผมดอกไม้ไหว ที่นิยมประดับผมเมื่อไปทำบุญ เข้าวัด ของผู้หญิงสมัยล้านนา หรือแม้แต่เครื่องประดับโบราณ หลายๆชิ้นก็มีพื้นเพมาจากภาคเหนือค่ะ

ชุดไทย ประจำภาคเหนือกับเรื่องราวที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *